วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

การเล่นของเด็กปฐมวัย

http://www.gotoknow.org/posts/466794


หลักการจัด การเล่นสำหรับเด็ก
การเล่น หมายถึง กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานบันเทิงใจ เพลิดเพลิน เป็นกิจกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน มุ่งมั่นเพื่อความพึงพอใจมากกว่าจุดมุ่งหมายหรือผลที่จะได้รับ โดยเฉพาะการเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเด็ก และมีส่วนในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทุกๆ ด้าน
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีคลาสสิก (Classic Theories) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงสาเหตุและจุดประสงค์ของการเล่ิน เป็นทฤษฎีใหญ่ที่ประกอบด้วยทฤษฎีย่อยๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ทฤษฎีพลังหรือส่วนเกิน (Surplus Energy Theory) ที่กล่าวไ้ว้ว่ามนุษย์มีพลังงานต่างๆ มากมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น พลังงานที่เหลือ มนุษย์จึงใช้มาทำกิจกรรมการเล่น
1.2 ทฤษฎีนันทนาการหรือการผ่อนคลาย (Recreation Relaxation Theory) อธิบายตรงกันข้ามกับทฤษฎีของ Spencer คือ การเล่นเป็นการเพิ่มพลังขึ้นในตัวมนุษย์ ทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้ในการทำงาน
1.3 ทฤษฎีสัญชาติญาณ (Instinet Theory) หรือเรียกอีกชื่อว่า ทฤษฎีฝึกหัด (The Pre-exercise Theory) ซึ่งเชื่อว่าการเล่นเป็นการเตรียมรับบทบาทต่อไปในอนาคต
1.4 ทฤษฎีกระทำซ้ำ (Recapitulation Theory) ซึ่งตรงกันข้ามกับทฤษฎีสัญชาติญาณ โดยทฤษฎีนี้อธิบายว่า การเล่นของเด็กที่กระทำซ้ำๆ จะมีผลในด้านการดำรงรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม ตลอดจนการสืบทอดของกิจกรรมการเล่น
2. ทฤษฎีโมเดิร์น (Modern Theory) ประกอบด้วยทฤษฎีย่อยๆ คือ
2.1 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Freud และ Erikson ซึ่งอธิบายว่าการเล่นเป็นทางออกสำหรับการปลดปล่อยอารมณ์ของเด็ก ซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านอารมณ์ และสังคมของเด็ก เป็นทางออกที่ทำให้เด็กแสดงความรู้สึกต่างๆ ออกมา ซึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ และการรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองของเด็ก โดยเด็กจะมีพัฒนาการด้านการเล่นดังต่อไปนี้ คือ
1. Autocosmic เป็นการเล่นเกี่ยวกับตนเอง โดยศูนย์กลางการเล่นอยู่ที่ตนเอง
2. Microsphere เป็นการเล่นอยู่กับโลกใบเล็กๆ ของตนเอง จินตนาการของตนเอง
3. Macrosphere เป็นการเล่ินโดยมีคนอื่นเข้ามาเีกี่ยวข้อง เป็นสังคม
2.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา (Cognitive-Developmental Theory) ทฤษฎีนี้จะเน้นที่เนื้อหาการเล่น ที่นำไปสู่พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ซึ่งมีผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ คือ Pieget โดยการเล่น จะทำให้เกิดทักษะและประสบการณ์ที่จะทำให้เกิดพัฒนาความรู้ใหม่ได้และ Sutton Smith ที่กล่าวว่าการเ่ล่นจะช่วยพัฒนาความยืดหยุ่น และเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาได้
2.3 ทฤษฎีสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Theory) เป็นทฤษฎีที่เห็นความสำคัญของการเล่นต่อ สังคมและวัฒนธรรม และมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก


ประโยชน์ของการเล่น 
การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ: 

bullet 
ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เพิ่มทักษะ การใช้กล้ามเนื้อต่างๆ 
bullet ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน สนุกสนาน
bullet ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็กเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง  
กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้ที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย  มีทักษะในการสื่อสาร 
bullet ด้านสติปัญญาจะช่วยฝึกให้เด็กรู้จักคิดทั้งด้านการคิดอย่างมีเหตุผล 
การคิดอย่างสร้างสรรค์และจินตนาการ สามารถรู้จักวางแผน รู้จักแก้ปัญหา  
มีน้ำใจ มีความอดทน เป็นการปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรมให้แก่เด็กด้วย  

20

สำหรับผู้ใหญ่ก็ได้รับประโยชน์จากการเล่นของเด็กเช่นกัน 
นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น พ่อ แม่ ลูก
แล้วยังเป็นโอกาสที่ผู้ใหญ่ จะได้รับรู้ว่าเด็กหรือ บุตรหลานของตนเองในระดับลึกลงไปอีก
ว่าเขามีความคิดและความต้องการอย่างไร  ทั้งยังจะช่วยสะท้อนให้เห็นภาพของตนเอง
เกี่ยวกับชีวิตประจำวันทั่วไปและการกระทำของตน ต่อเด็ก เพราะเด็กจะสะท้อนสิ่งต่างๆ
เหล่านั้นออกมาในการเล่นของเขา และหากผู้ใหญ่ได้ลองมาร่วมเล่นในสิ่งที่เด็กเล่นอยู่ก็อาจจะรู้สึกถึงความเพลิดเพลิน
ผ่อนคลายความเครียดและเพิ่มมุมมองใหม่ๆให้กับตนเองอีกด้วย 

ผู้ใหญ่ส่งเสริมการเล่นของเด็กได้ ดังนี้ :
1. จัดหาสถานที่ อุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่วัยของเด็ก บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการ และความสนใจ ของเด็กในแต่ละวัย 
2. ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิด และจินตนาการของเขา ผู้ใหญ่เพียงอยู่ใกล้ๆคอยดูแลเรื่องความปลอดภัยในระยะที่มองเห็น และสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันที
3. กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก โดยอาจแสดงบทบาทเป็นผู้ร่วมเล่น หรือเสนอทางเลือกการเล่นแบบใหม่ๆให้กับเด็กบ้างตามความสมควร แต่ต้องระวังว่า ไม่ให้การเล่นเป็นการตามใจผู้ใหญ่
4. กล่าวคำชม เมื่อเด็กทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง แต่เมื่อเด็กทำผิดพลาด หรือรู้สึกว่าล้มเหลว ผู้ใหญ่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยกล่าวคำปลอบใจ หรือดึงเด็กเข้ามาไว้ในอ้อมกอด เพื่อเป็นการเสริมกำลังใจ
5. ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตุและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก เมื่อพบว่า เด็กสนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษ ควรส่งเสริมความสนใจนั้นๆด้วยการหาอุปกรณ์ หรือแนะนำเพิ่มเติมให้แก่เด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้มีการพัฒนาด้านนั้นๆต่อไป end
จาก: สรวงธร นาวาผล วท.บ.จิตวิทยา,ศศ.ม.เทคโนโลยีสังคม ผู้จัดการสถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก 


เมื่อวันวาน.........รับนายอำเภอรัตนบุรี


http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=320701